ทหารคือรั้วของชาติที่คอยรักษาประชาธิปไตย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้รักษากฎหมาย

อาชีพทหาร ผู้รักษาความปลอดภัย

โรงเรียนเตรียมทหารนั้นจะรับสมัครนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป อายุ 15 – 18 ปี ซึ่งจะมีการเปิดรับในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม ของทุกปี และจะทำการสอบคัดเลือกในช่วงปลายเดือนมีนาคม ซึ่งโรงเรียนเหล่าทัพทั้ง 4 นั้น จะสอบพร้อมกันหมด (รวมโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย) ในส่วนการสอบคัดเลือกนั้นจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ ในรอบแรกนั้นจะเป็นการสอบภาควิชาการใน 5 วิชาหลักด้วยกัน ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทย การสอบในรอบที่สองนั้น จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ และทดสอบสมรรถภาพร่างกายในด้านต่างๆ ในแต่ละปีนั้นจะมียอดผู้สมัครสอบเฉลี่ย 15,000 – 20,000 คน แต่โรงเรียนเตรียมทหารนักเรียนได้เพียงปีละ 600 กว่าคน เท่านั้น ดังนั้น นักเรียนคนใดที่ต้องการจะสมัครและผ่านเข้าไปตามเส้นทางที่ตั้งใจไว้ก็ต้องมีการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า – จะได้รับการศึกษาทางด้านวิชาการในระดับปริญญาตรี โดยสามารถที่จะเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งได้ ซึ่งจะมีการเปิดให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละปี สาขาวิชาต่างๆนั้นจะประกอบด้วย -ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 9 Read more about อาชีพทหาร ผู้รักษาความปลอดภัย[…]

บทสรุปรัสเซียทำไมก่อสงครามกับยูเครน

 สรุปรัสเซียทำไมก่อสงครามกับยูเครน หลายคนอาจจะได้รับฟังข่าวสารทั้งบนโลกออนไลน์และตามสื่อต่างๆรวมถึงในโทรทัศน์ สำหรับประเด็นการก่อสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน สำหรับความขัดแย้งของรัสเซียกับยูเครนนั้นนับได้ว่ายาวนานต่อเนื่อง เลยทีเดียว วันนี้เราจะมาทำความสรุปสงครามของรัสเซียกับยูเครนในแบบที่เข้าใจง่ายๆให้ได้เข้าใจกัน ต้องบอกก่อนว่า ยูเครนนั้นเคยเป็นส่วนนึงของประเทศรัสเซียมากก่อนเรียกได้ว่าเป็นพี่น้องกันเลยก็ว่าได้จนกระทั้งใน ปี 1917 เมื่อราชวงศ์โรมานอฟนั้นได้สิ้นสุดอำนาจลงนั้น กลุ่มชาตินิยมยูเครนจึงได้ขอทำการแยกตัวออกไปเป็นประเทศ โดยที่มีประเทศ     เยอรมนีนั้น ทำการหนุนหลัง แต่เยอรมนีก็ต้องพ่ายแพ้ไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 เลยมีการก่อตั้งสหภาพโซเวียตขึ้น ซึ่งยูเครนก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในโซเวียต แต่ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอีกในปี 1991 สหภาพโซเวียตได้เกิดการล่มสลาย แต่โรงงานจัดเก็บอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตนั้นอยู่ในพื้นที่ของยูเครน หัวรบนิวเคลียร์กว่า 1,249 หัวจึงได้ตกเป็นของยูเครน เพื่อที่จะเป็นเครื่องมืนในการการันตีว่า รัสเซียจะไม่เข้ามารุกราน แต่สังคมโลกนั้นไม่สบายใจนักเพราะกลัวการที่ยูเครนจะนำมันออกมาใช้ วันที่ 5 ธันวาคม 1994 ยูเครน รัสเซีย สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ได้เซ็นสนธิสัญญาบูดาเปสต์ ขึ้นในข้อตกลงที่ว่าหากทำการกำจัดหัวรบทิ้ง เพื่อความมั่นคงของโลก ยูเครนจะได้รับเอกราช ในการบริหารประเทศ โดยในสัญญานั้นคือหากทำตามเงื่อนไขรัสเซียจะไม่สามารถที่จะใช้กำลังบุกรุกแทรกแซงยูเครนได้ จนกระทั้งในปี 2013 EU เสนอเงื่อนไขให้ยูเครนเข้าร่วมสมาชิกหากยูเครนตกลง ประชาชนจะสามารถที่จะเข้าไปทำงานทั่วยุโรปได้อย่างอิสระ ยูเครนสามารถที่จะเข้าไปวางขายสินค้าในประเทศที่เข้าร่วมได้อย่างไม่โดนกำแพงภาษี แต่รัสเซียนั้นไม้ต้องการให้ยูเครนเข้าร่วม เพราะมีกลุ่มเศรษฐกิจที่ชื่อว่า EAEU ของตัวเองอยู่ และต้องการให้ยูเครนอยู่กับรัสเซียต่อ  Read more about บทสรุปรัสเซียทำไมก่อสงครามกับยูเครน[…]

เกี่ยวกับ หัวข้อ ประวัติ วลาดีมีร์ ปูติน

  เกี่ยวกับ หัวข้อ ประวัติ วลาดีมีร์ ปูติน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคนดังของโลกในตอนนี้ อย่าง “วลาดิมีร์ ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย ที่สังคมโลกและผู้นำประเทศมหาอำนาจในหลายๆประเทศกำลังจับตามอง การเคลื่อนไหวของสงครามรัสเซียกับยูเครนที่อาจจะเกิดขึ้น หากมันเกิดขึ้นอาจกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 3 เลยก็ว่าได้ เอาเหล่าเรามาเล่าประวัติของผู้นำประเทศหมีขาวคนนี้กันดีกว่า วลาดิมีร์ ปูติน มีชื่อเต็มๆว่า วลาดิมีร์ วลาดิมีโรวิช ปูติน เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ปี 1952 ปัจจุบันอายุ 69 ย่าง 70 ปี ปูตินนั้น เกินในเลนินกราด สมัยที่ยังคงเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ก่อนที่จะล้มสลายในปี 1991 เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ได้แตกออกมาเป็น 15 ประเทศ ด้วยกัน ได้แก่ รัสเซีย  เอสโตเนีย  ลัตดวีย ลิทัวเนีย  เบลารุส  ยูเครน มอลโดวา  จอร์เจีย  อาร์เมเนีย              อาเซอร์ไบจาน  คาซัคสถาน  อุซเบกิสถาน  Read more about เกี่ยวกับ หัวข้อ ประวัติ วลาดีมีร์ ปูติน[…]

นาโต้คืออะไร

 นาโต้คืออะไร หลายคนอาจจะที่เคยได้ยินคำว่า นาโต หรือ NATO แต่อาจจะยังไม่ทราบความหมายว่าคำนี้แปลว่าอะไรหรือมี่ที่มาอย่างไร สำหรับคำว่า NATO นั้น มาจาก North Atlantic Treaty Organization ย่อว่า เนโท , ออต็อง หรือ นาโต้ ตามที่คนไทยได้เรียกกัน เป็นองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ และเป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล นาโต้ นั้นได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 4  เดือนเมษายน ค.ศ.1949 ปัจจุบันนั้นได้มีสมาชิกทั้งหมดกว่า 30 ประเทศ องค์การนี้จะดำเนินการตามสนธิสัญญาของแอตแลนติกเหนือที่ทำการลงนามไว้ตั้งแต่ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1949 นั้นเอง สมาชิกทั้งหมด 30 ประเทศนั้น 27 ประเทศ นั้นจะอยู่ในยุโรป 2ประเทศในอเมริกาเหนือ และอีก 1 ประเทศในยูเรเซีย ได้แก่ แอลเบเนีย  เบลเยี่ยม  บัลแกเรีย  แคนาดา  โครเอเชีย  สาธารณรัฐเช็ก  เดนมาร์ก  Read more about นาโต้คืออะไร[…]

 เรียนรู้เรื่องทหาร GI คืออะไรและมีที่มาอย่างไร

ทหาร GI คืออะไรและมีที่มาอย่างไร มีข้อถกเถียงกันอย่างมากมาย สำหรับที่มาที่ไป ของทหาร GI ก่อนที่จะเล่าถึงความเป็นมาของคำว่าทหาร GI ที่มีหลายคนได้ถกเถียงกันนั้น บางคนอาจจะยังไม่ทราบถึงความป็นมาที่เหล่าทหารเหล่านี้ได้เข้ามายังประเทศไทย ในช่วงสงครามเวียดนามนั้น กองทัพอากาศสหรัฐได้เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ.2518 เพื่อที่จะใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการโจมตีประเทศเวียดนามเหนือ มีการประมาณการว่ามีการทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ 80 ในเวียดนามเหนือซึ่งมาจากประเทศไทย  จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี พ.ศ.2511 คือจำนวน 11,494 คน และทหารอากาศนั้นสูงสุดในปี พ.ศ. 2512 คือจำนวน 33,500 คน จำนวนเครื่องบินของสหรัฐในปี พ.ศ. 2512 มีประมาณ 600 เครื่องได้ในขณะนั้น นับว่าเป็นฐานปฏิบัติการที่เป็นทางการและเป็นบานปฏิบัติการทางทหารที่ใหญ่มาก ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในประเทศเวียดนามเสียอีก จนได้มีการเปรียบเปรยว่า ประเทศไทยนั้นได้กลายเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจมของกองทัพสหรัฐ สหรัฐนั้นได้เข้ามาก่อตั้งกองทัพที่ประเทศไทยโดยมีสัญญาปากเปล่า นั้นคือ “ข้อตกลงสุภาพบุรุษ”  หน่วยทหารสหรัฐจำนวนมากนั้นได้เดินทางมาจากฟิลิปปินส์ โดยมาถึงท่าอากาศยานดอนเมือง ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2501 ตามมาด้วยการลำเลียงเครื่องจักร และวัสดุภัณฑ์จำนวนมากมายังท่าเรืออู่ตะเภา ทั้งหมดนั้นเพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและฐานทัพอากาศในประเทศไทย ซึ่งในทางนิตินัยแล้วถือว่าฐานทัพเหล่านี้นั้นเป็นของประเทศไทยและมีผู้บังคับการฐานเป็นทหารไทย ด่านเข้าออกฐานทัพนั้นจะถูกควบคุมโดยสารวัตรทหารไทย โดยจะมีสารวัตรทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยถืออาวุธ Read more about  เรียนรู้เรื่องทหาร GI คืออะไรและมีที่มาอย่างไร[…]

มาเรียนรู้กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นคืออะไร และทำไมญี่ปุ่นไม่มีทหาร

     กองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่น กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นคืออะไร และทำไมญี่ปุ่นไม่มีทหาร หากเรียกกันเป็นคำทับศัพท์นั้นสามารถที่จะเรียกสั้นๆได้ว่า จิเอไต หรือ JSDF ในบางครั้งก็อาจจะถูกเรียกว่า JSF หรือ SDF อีกด้วย สำหรับกองกำลังป้องกันตัวเองนี้เป็นบุคลากรของประเทศญี่ปุ่นที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นหลังจากที่สงครามโลกในครั้งที่ 2  ได้สิ้นสุดลงเพื่อที่จะได้แทนที่กองทัพจักรวรรดิของญี่ปุ่นที่ได้ถูกยุบไป และฝ่ายสัมพันธมิตรจะได้ไม่ทำการยึดครองประเทศญี่ปุ่น ในเวลาหลังสงคราม กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นนั้นได้ถูกใช้งานเฉพาะภายในประเทศมีหน้าที่ในการทีจะปกป้องและป้องกันประเทศอธิปไตยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และไม่ได้รับอนุญาตให้มีการปฏิบัติภารกิจใดๆ ในต่างประเทศ ยกเว้นในสถานการณ์ที่เป็นการป้องกันตัวเองในเขตที่จำกัดเท่านั้น แม้อาจจะมีภารกิจในต่างประเทศในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แต่ล่าสุดนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2557 คณะรัฐมนตรีแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ตีความรัฐธรรมนูญ ในมาตราที่ 9 ใหม่ สรุปได้ว่ากองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นนั้นจะสามารถที่จะส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจการป้องกันตนเองร่วมได้ ( Collectvie-Self Defence) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อปกป้องชาติหนึ่งจาการที่จะถูกรุกราน โดยญี่ปุ่นนั้นสามารถที่จะเข้าไปช่วยเหลือชาติพันธมิตรใกล้ชิดที่กำลังถูกโจมตีได้ หากการโจมตีนั้นเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ของประเทศญี่ปุ่น และไม่มีวิธีอื่นในการปกป้องชีวิตของประชาชนชาวญี่ปุ่น ในด้านการพัฒนาอาวุธของญี่ปุ่นนั้น ในรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นถูกกำหนดไม่ให้มีการสร้างและพัฒนาอาวุธในเชิงรุก ส่วนในด้านของการการห้ามส่งออกนั้น แม้ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดขึ้นเองในปี พ.ศ.2510 แต่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2557 ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎหมายในการห้ามส่งอาวุธออก โดยเปลี่ยนเป็นให้มีการส่งออกอาวุธได้ รวมถึงสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการผลิตอาวุธกับนานาชาติได้ แต่ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะไม่สามารถส่งออกอาวุธให้กับประเทสที่กำลังมีการขัดแย้ง หรืออาจที่จะเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติได้ Read more about มาเรียนรู้กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นคืออะไร และทำไมญี่ปุ่นไม่มีทหาร[…]

กฎหมายทวงหนี้

รู้ไว้ใชว่ากับ กฎหมายทวงหนี้ใหม่ 2562 มีอะไรน่าสนใจมาดูกัน

คนเรามีหนี้สินก็ต้องชดใช้ แต่ถ้าทวงบ่อย “ผิดกฎหมาย” นะบอกไว้ก่อน หลังจากที่ได้มีประกาศจากคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ “เรื่อง จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้” ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ประกาศเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2562 โดยกฎหมายนี้จะอ้างอิงตาม พระราชบัญญัติการทวง การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 เท่านั้น โดยวันนี้หลายคนก็ยังไม่ค่อยมีความเข้าใจในข้อกฎหมายนี้กันซักเท่าไหร่ วันนี้เลยอยากจะมาอธิบายให้เจ้าหนี้ และลูกหนี้ทั้งหลายได้เข้าใจกันง่ายๆ จะได้ไม่เสียผลประโยชน์ของตัวเอง […]

กฎหมายแพ่ง

มาทำความรู้จักกับ กฎหมายแพ่ง คืออะไรกันนะ

กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ”บุคคล” ที่จะครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ “นิติบุคคล” นอกจากนี้ยังรวมถึงทรัพย์สินด้วยเช่นกัน เวลาที่เรามีปัญหาเกี่ยวกับมรดกเกิดขึ้น หรือปัญหาข้อพิพาทระหว่างบริษัท กฎหมายที่จะเข้ามาช่วยเหลือตรงส่วนนี้ก็คือ “กฎหมายแพ่ง” นี่แหละ ต่างกับกฎหมายอาญาที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อตัวบุคคล ที่สร้างความเดือดร้อน หรือทำรายร่างกายผู้อื่น เพื่อที่จะได้เข้าใจข้อกฎหมายให้มากขึ้น ยกตัวอย่างได้ดังนี้ […]

กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา คืออะไรกัน และมีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

เมื่อมีคนทำกระทำความผิด ย่อมจะต้องมีบทลงโทษบุคคลนั้น “กฎหมายอาญา” เป็นกฎหมายที่เอาไว้ใช้ลงโทษคนที่กระทำความผิด หรือการที่ไม่กระทำการอย่างใด ถือเป็นโทษทางอาญา โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ “ส่วนของความผิด” โดยเป็นข้อที่ระบุว่าการกระทำใด้มีความผิดทางอาญา อีกส่วนหนึ่งได้แก่ “ส่วนของการลงโทษ” ใช้เพื่อกำหนดโทษทางอาญาสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยส่วนใหญ่แล้วกฎหมายอาญานั้น เป็นส่วนที่ยอมความไม่ได้ ยกเว้นความผิดที่เกิดขึ้นกับตนเอง ต่างกับกฎหมายแพ่ง เพราะเป็นความผิดที่สร้างความไม่สงบสุขให้แก้บ้านเมือง จึงไม่สามารถละเว้นความรับผิดชอบได้ แม้แต่ผู้เสียหายเองจะยินยอมก็ตาม […]

ยศทหารไทย

มาทำความรู้จักกับยศทหารไทย มีแบบใหนกันบ้าง

ประเทศไทยนั้น ได้นำระบบชั้นยศมาใช้ครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 โดยได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก จนกระทั่งได้มีการแบ่งแยกลำดับยำออกจากกัน เพื่อให้เกิดความชั้นเจนในสายระบบงานเมื่อปี พ.ศ. 2431 แล้วจึงมีการจัดระเบียบยศของทหารเรือตามมาในภายหลัง โดยใช้แนวทางการจัดลำดับตามแบบกองทัพเรือในต่างประเทศ ต่อมาได้มีการก่อตั้ง “กองทัพอากาศขึ้น” ทำให้ต้องมีการสร้างลำดับชั้นยศขึ้นมาใหม่ โดยอาศัยจากชั้นยศของกองทัพเรือที่มีอยู่แต่เดิม ส่วนของตำรวจนั้น ได้หยิบยกนำของทหารบกมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน […]