กฎหมายอาญา คืออะไรกัน และมีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง

เมื่อมีคนทำกระทำความผิด ย่อมจะต้องมีบทลงโทษบุคคลนั้น “กฎหมายอาญา” เป็นกฎหมายที่เอาไว้ใช้ลงโทษคนที่กระทำความผิด หรือการที่ไม่กระทำการอย่างใด ถือเป็นโทษทางอาญา โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ “ส่วนของความผิด” โดยเป็นข้อที่ระบุว่าการกระทำใด้มีความผิดทางอาญา อีกส่วนหนึ่งได้แก่ “ส่วนของการลงโทษ” ใช้เพื่อกำหนดโทษทางอาญาสำหรับความผิดที่ได้กระทำ โดยส่วนใหญ่แล้วกฎหมายอาญานั้น เป็นส่วนที่ยอมความไม่ได้ ยกเว้นความผิดที่เกิดขึ้นกับตนเอง ต่างกับกฎหมายแพ่ง เพราะเป็นความผิดที่สร้างความไม่สงบสุขให้แก้บ้านเมือง จึงไม่สามารถละเว้นความรับผิดชอบได้ แม้แต่ผู้เสียหายเองจะยินยอมก็ตาม

กฎหมายอาญาที่มีโทษรุนแรงมากสุดคือ “การประหารชีวิต” ยกตัวอย่างในมาตรา 288 กำหนดโทษเอาไว้กรณีที่ฆ่าคนตาย จะมีโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้าผ่อนผันลงมาหน่อย อาจติดคุกตั้งแต่ 15 – 20 ปี หรือการทำลายข้าวของ ก็มีโทษตามมารตรา 358 ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 พันบาท สรุปแล้วโทษทางอาญาแบ่งออกได้เป็น 5 อย่าง ได้แก่ ประหารชีวิต, จำคุก, กักขัง, ปรับ และรับทรัพย์สิน นอกจากความผิดอาญาแล้ว ยังมีบทลงโทษในความผิดเฉพาะเรื่องอีกด้วย เช่น “พระราชบัญญัติยาเสพติด” หรือ “พระราชบัญญัติจราจรทางบก” ที่ใช้กับความผิดที่เกิดขึ้นบนท้องถนน

ลักษณะเฉพาะของกฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา กับเรื่องราวของกฎหมาย

ความผิดที่บุคคลจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย จะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติเอาไว้ให้รับโทษนั้นๆ หากมีแค่โทษปรับเพียงอย่างเดียว ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ลงโทษจำคุกได้ เพราะไม่ได้กำหนดเอาไว้ในข้อกฎหมาย นอกจากนี้แล้วตามที่กำหนดเอาไว้ใน โดยในส่วนของงานสืบสวนจะเป็นหน้าที่ของตำรวจในการรวบรวมพยานหลักฐาน มีอำนาจในการจับกุมผู้ต้องหา ก่อนที่จะส่งพยานหลักฐานให้กับพนักงานอัยการสั่งฟ้อง ในขณะที่ผู้ต้องหาอาจมีฝ่ายทนายคอยช่วยสู้คดี นอกจากนี้แล้ว ปวอ.มาตรา 28 ยังให้อำนาจแก่ผู้เสียหายเพื่อสั่งฟ้องคดีได้เอง โดยทางเจ้าหน้าที่จะไม่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

วัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญามีเพื่อใช้ในการรักษาระเบียบ คุ้มครองกระบวนการยุติธรรม คุ้มครองความสงบเรียบร้อย ป้องกันมิให้ถูกกระทำย่ำยีทางเพศ คุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคล คุ้มครองทรัพย์สินของบุคคล จึงไม่แปลกที่จะมีบทลงโทษที่รุนแรง โดยความผิดที่เข้าข่าย ต้องเป็นความผิดที่เกิดกับตัวของประชาชน หรือสร้างความไม่สงบให้แก่บ้านเมือง แต่หากผู้กระทำความผิดเกิดเสียชีวิต การดำเนินการทางกฎหมายถือเป็นที่สิ้นสุด จะไม่มีการสืบสวน หรือฟ้องร้องใดๆ เพิ่มเติม จุดประสงค์ของการลงโทษทางอาญา ก็เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลายจำ สำนึก และพร้อมที่จะกลับใจเป็นคนดีของสังคม