ปัจจุบันการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วทำให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อกันง่ายเหมือนอยู่ใกล้กันเพียงแค่ใช้นิ้วพิมพ์ จึงทำให้เกิดการแชร์ในสิ่งที่ผิดๆกันอย่างมากมายกระจายเป็นวงกว้าง บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ดีควรส่งเสริม แต่บางเรื่องก็อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียหายได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการควบคุมไว้บ้าง ซึ่งในประเทศเราเองก็มีหน่วยงานที่คอยดูแลและควบคุมเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
หน่วยงานที่คอยควบคุมดูแลก็คือ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เป็นหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายโดยมุ่งเน้นการอำนวยความยุติธรรม ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและบริการประชาชน อย่างมีมาตรฐานสากล เพื่อทำให้เกิดความสงบเรียบร้อย มั่นคง แก่สังคมและประเทศชาติ โดยหน่วยงานนี้จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบ เรียบร้อย ป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะ รวมทั้งการสืบสวนสอบสวนปฏิบัติงานตามประมวงกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
มีภารกิจหลักๆ คือ
- ถวายความปลอดภัย สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
- ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
- อำนวยความยุติธรรมโดยยึดหลักนิติธรรม
- รักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ
- สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ตลอดจนประสานงานความร่วมมือระหว่างภายในประเทศและต่างประเทศ
- รับแจ้งเบาะแสจากประชาชนตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ ตรวจสอบปัญหา เพื่อที่จะได้นำแนวทางไปใช้ในการป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งจะมีวิธีการพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง
กองกำกับการ 1 : การกระทำความผิดที่มุ่งต่อระบบคอมพิวเตอร์เป็นเป้าหมายหลัก
กองกำกับการ 2 : การนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือใช้ในการกระทำความผิด
กองกำกับการ 3 : การนำเข้าหรือเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ สู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความผิด
กลุ่มงานสนับสนุนคดีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี : ปฏิบัติการโต้ตอบในเชิงรุกโดยฉับพลันทันทีทันใดทางอินเตอร์เน็ต และให้การสนับสนุนทางเทคโนโลยี
แนวทางในการดำเนินคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในเบื้องต้น
- เมื่อได้รับแจ้งจากผู้เสียหาย ตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิดตามที่ผู้เสียหายแจ้งจริงหรือไม่
- ทางเกิดกรณีที่เป็นกระดานข่าว ตรวจสอบว่ามีหมายเลขไอพี และวันเวลา ของผู้โพสต์กระทู้ปรากฎหรือไม่ ถ้าไม่พบเลขไอพีต้องสอบถามไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์
- แล้วส่งเลขกระทู้ไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อตรวจสอบว่าผู้กระทำความผิดโพสต์ข้อความมาจากไอพีอะไร
- เมื่อได้เลขไอพีและวันเวลา ก็ตรวจสอบว่าหมายเลขไอพีเป็นของผู้ให้บริการรายใด
- ตรวจสอบหาหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของผู้กระทำความผิด โดยส่งหมายเลขไอพีและวันเวลาไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
- เมื่อได้รับหมายเลขเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจหาผู้ให้บริการ เพื่อสอบปากคำและหาพยายานหลักฐานเพิ่มเติม