มาทำความรู้จักกับ กฎหมายแพ่ง คืออะไรกันนะ

กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ”บุคคล” ที่จะครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ “นิติบุคคล” นอกจากนี้ยังรวมถึงทรัพย์สินด้วยเช่นกัน เวลาที่เรามีปัญหาเกี่ยวกับมรดกเกิดขึ้น หรือปัญหาข้อพิพาทระหว่างบริษัท กฎหมายที่จะเข้ามาช่วยเหลือตรงส่วนนี้ก็คือ “กฎหมายแพ่ง” นี่แหละ ต่างกับกฎหมายอาญาที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดต่อตัวบุคคล ที่สร้างความเดือดร้อน หรือทำรายร่างกายผู้อื่น เพื่อที่จะได้เข้าใจข้อกฎหมายให้มากขึ้น ยกตัวอย่างได้ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา หมายถึงมนุษย์ เมื่อเด็กเกิดมาจะมีสภาพเป็น “บุคคล” ทันที การที่จะเสียสภาพการเป็นบุคคลได้ มีอยู่ 2 สาเหตุ คือ “การตายธรรมชาติ” และ “การสาบสูญ” ในกรณีนี้แบ่งได้อีกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ ปกติ (5 ปี) และหายแบบไม่ปกติ (2 ปี) อาจอยู่ในระหว่างสงคราม หรือประสบอุบัติเหตุที่อันตรายถึงชีวิต
  2. นิติบุคคล แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กับ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น เช่น นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ โดยจะได้รับสิทธิเหมือนบุคคลธรรมดา
  3. ทรัพย์ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ “สังหาริมทรัพย์” เป็นทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย หรือ รถยนต์ คอมพิวเตอร์ เก้าอี้ ฯลฯ กับ “อสังหาริมทรัพย์” เป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่เดิน ตึก โรงเรียน บ้าน นอกจากนี้ยังรวมถึง หิน ทราย ที่อยู่ในบริเวณที่ดินด้วย

ยกตัวอย่างกฎหมายแพ่ง เรื่องแบ่งทรัพย์มรดก

กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง กับ ประมลกฎหมายอันหลากหลาย

เรื่องมรกดกอาจกลายเป็นชนวนให้พี่น้องในครอบครัวทะเลาะกัน ถ้าไม่ได้เขียนพินัยกรรมเอาไว้ก่อนตาย ในแต่ละปีมักจะมีข่าวฟ้องร้องมรดกกันเยอะมาก เพราะผู้ตายเกิดความชะล่าใจ คิดว่าไม่ทำก็ไม่เป็นไร สุดท้ายชีวิตเป็นเรื่องไม่เที่ยง จะไปตอนไหนก็ไม่มีใครรู้ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นไปแล้วจะทำอย่างไร ลองมาดูหลักการแบ่งทรัพย์มรดกตามกฎหมายแพ่งกันเถอะ

โดยปกติถ้ามี “พินัยกรรม” จะแบ่งให้กับคนที่รายชื่ออยู่ก่อน จากนั้นตามด้วยที่เหลือ คือทายาท หากเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งออกครึ่งหนึ่งให้กับคู่สมรส โดยจะแบ่งตามลำดับทายาทชั้น 1 – 6 ถ้าเกิดว่าไม่พบว่ามีทายาทชั้นที่ 6 กรณีนี้จะต้องยกทรัพย์ให้เป็นของแผ่นดิน โดยการแบ่งเงินให้ทายาทจะแบ่งให้เท่าๆ กัน สมมุติว่ามีเงินมรดก 1 ล้านบาท แบ่งให้คู่สมรส 5 แสนบาท และลูกอีก 5 คน แบ่งเท่ากันให้คนละ 1 แสนบาท หากว่าไม่มีทายาทโดยธรรม เงินมรดกทั้งหมดจะตกเป็นของคู่สมรส

สุดท้ายนี้หวังว่าข้อมูลที่นำมาเสนอในวันนี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจกฎหมาย ถ้าอยากจะมอบความรู้ความเข้าใจให้กับผู้อื่น ก็สามารถช่วยกันแชร์ความรู้ดีๆ เหล่านี้ต่อไป เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้สิทธิประโยชน์ของตัวเองที่มีตามกฎหมาย หากมีเวลามากกว่านี้ จะมาเขียนเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายให้อ่านกันในโอกาสต่อไป